หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
เทศบาลตำบลนครไทย ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
สำนักงานเทศบาลตำบล นครไทย
www.nakhonthai.go.th
Nakhonthai Subdistrict Municipality
นครไทยชุมชนเข้มแข็ง แหล่งเกษตรกรรม
ธรรมชาติสวยงาม วัฒนธรรมล้ำค่า
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจกิจพอเพียง

วิสัยทัศน์ ทต.นครไทย
คณะผู้บริหาร ทต. นครไทย
Board Of Nakhonthai Subdistrict Municipality
ผลิตภัณฑ์และสินค้า OTOP
พันจ่าโทสุนันท์ ทองหงำ
ปลัดเทศบาลตำบลนครไทย
ศาสนสถานในตำบลนครไทย
ศูนย์รวมใจของประชาชน
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลนครไทย
พร้อมพัฒนาความรู้แก่เยาวชนในชุมชน
เทศบาลตำบลนครไทย
1
2
3
4
5
 
ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ เทศบาลตำบลนครไทย ค่ะ
 
สถานที่สำคัญ
 

วัดนครไทยวราราม (วัดหัวร้องหรือวัดใต้)  (จังหวัด พิษณุโลก)
รูปชุดก่อน รูปชุดถัดไป
คลิกที่ภาพเพื่อขยาย

ลำดับภาพที่ 1/6

ลำดับภาพที่ 2/6

ลำดับภาพที่ 3/6

ลำดับภาพที่ 4/6

ลำดับภาพที่ 5/6

ลำดับภาพที่ 6/6
<<
>>
X
 
ชื่อสถานที่ : วัดนครไทยวราราม (วัดหัวร้องหรือวัดใต้)
 
ที่ตั้ง : บ้านหัวร้อง หมู่ที่ 6 ต.นครไทย อ.นครไทย จ.พิษณุโลก
 
ข้อมูล : ประวัติวัดนครไทยวราม (วัดหัวร้อง)
วัดนครไทยวราราม (วัดหัวร้อง) ปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่ 200 หมู่ที่ 6 ถนนอุดรดำริห์ บ้านหัวร้อง ตำบลนครไทย อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ทำการก่อสร้างขึ้นเมื่อใด และใครเป็นผู้สร้างนั้นไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัดแต่อย่างใด
คนเก่าคนแก่ได้เล่าขานสืบต่อกันมาว่า วัดหัวร้องเป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยเมื่อครั้งพ่อขุนบางกลางท่าวได้ยกทัพไปตีกรุงสุโขทัยเมื่อประมาณปี พ.ศ.1800 หลังจากที่ได้รวบรวมไพร่พลมาอยู่ที่เมืองบางยางระยะหนึ่งแล้วดังหลักฐานที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน คือ วิหารทรงโรง และพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่แกะสลักด้วยไม้สักทั้งองค์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 2.45 เมตร สูง 3.45 เมตร

เจดีวัดหัวร้อง
แต่เดิมวัดหัวร้อง มีชื่อเรียกว่า “วัดศรีชมชื่น” สถานที่ตั้งแต่เดิมตั้งอยู่ที่สำนักสงฆ์คลองจิกในปัจจุบัน เมื่อก่อนนั้นเป็นวัดร้างไมมีผู้ดูแล และเนื่องจากสมัยนั้นชาวบ้านได้ตั้งบ้านเรือนอยู่เหนือร่องน้ำคลองจิก จึงพากันเรียกชื่อวัดศรีชมชื่นว่า “วัดหัวร่อง” ต่อมาเพี้ยนไปเป็น “วัดหัวร้อง” ด้วยเหตุที่เป็นวัดร้างมานาน ประกอบกับไม่มีใครดูแลเมื่อเกิดมีไฟไหม้ป่าลามทุ่ง วัดหัวร้องจึงถูกไฟไหม้จนหมดสิ้น คงเหลือทิ้งไว้ให้เห็นเพียงเจดีย์ดินในปัจจุบัน ต่อมาเมื่อชาวบ้านได้ปลูกสร้างอาคารบ้านเรือนมากขึ้นและรวมกันเป็นหมู่บ้าน จึงได้ทำการก่อสร้างวัดขึ้นในที่แห่งใหม่ ซึ่งอยู่ห่างจากสถานที่แห่งเดิมประมาณ 200 เมตร คือ สถานที่ตั้งวัดหัวร้องในปัจจุบัน สมัยก่อนนั้นวัดหัวร้องยังไม่ค่อยมีผู้คนดูแล จะมีเพียงเจ้าอาวาสกับพระลูกวัดบางส่วนเท่านั้นดูแลรักษาวัด แต่ก็ไม่ได้มีการบันทึกเป็นหลักฐานไว้ จนมาถึงสมัยหลวงปู่หุยเป็นเจ้าอาวาส จึงได้เริ่มการก่อสร้างศาลาและกุฏิเพิ่มเติมจากที่เคยมีแค่วิหารและพระพุทธรูปไม้สัก ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “หลวงพ่อใหญ่”
จากหลักฐานการบันทึกพบว่า วัดหัวร้องได้พระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2482 จึงได้ทำการก่อสร้างพระอุโบสถขึ้นในปี พ.ศ. 2491 ซึ่งมีขนาดกว้าง 5 เมตร ยาว 10 เมตร และสร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2496
เมื่อปี พ.ศ. 2516 เจ้าอาวาสและชาวบ้านเห็นว่า ศาลาและกุฏิได้เก่าแก่ชำรุดทรุดโทรมเป็นจำนวนมาก จึงได้ทำการรื้อถอนของเก่าออก ได้ร่วมกันพัฒนาปลูกสร้างศาลาและกุฏิขึ้นใหม่ พร้อมเปลี่ยนชื่อใหม่ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงพัฒนาวัดว่า “วัดนครไทยวราราม” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ในเนื้อที่ทั้งหมด 6 ไร่
วัดนครไทยวรารามนอกจากมีวิหารเก่าแก่ที่มีขนาดกว้าง 9 เมตร ยาว 18 เมตรแล้ว ภายในวิหารยังมีศิลปกรรมพื้นบ้านเก่าแก่งดงามอ่อนช้อยประดิษฐานในวิหารเก่าทรงโรง คือ มีฐานสำเภา (เสา) เครื่องบนเป็นไม้สักก่ออิฐถือปูนทรงแปดเหลี่ยม มีบัวและปลีที่หัวเสา ที่เพดานผ้าเป็นดาวลวดลายทอง แต่ได้สูญหายไปบ้าง มีอาสน์สงฆ์ก่ออิฐถือปูนยกสูงเบื้องขวาพระประธาน และส่วนที่สำคัญของวิหารอีกประการหนึ่งคือ มีพระพุทธรูปที่ทำด้วยไม้สักทั้งองค์ ปางมารวิชัย มีขนาดหน้าตักกว้าง 2.45 เมตร สูง 3.45 เมตร มีปูนหุ้มไว้ทั้งองค์ และปัจจุบันนี้เจ้าอาวาสและชาวบ้านได้ร่วมกันลงลักปิดทองให้ดูสวยงามสง่า และที่พิเศษคือ พระพุทธรูปไม้สักองค์นี้มีลักษณะเด่นคือ มีพระรัศมียาวใหญ่ วงพระพักตร์ค่อนข้างกลมไม่เหมือนผลมะตูม แต่เหมือนยุคสุโขทัย มีพระอุณาโลมอยู่ระหว่างพระขน มีพระบาทใหญ่ นิ้วพระบาทเสมอกัน ฝ่าพระบาทแบนราบ ส้นพระบาทยาว ด้วยเหตุที่พระพุทธรูปไม้สักมีองค์ใหญ่ ชาวบ้านจึงขนานนามให้ว่า “หลวงพ่อใหญ่” เป็นพระพุทธรูปที่สวยงามเด่นสง่าองค์หนึ่งของอำเภอนครไทย และสันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปที่ทำด้วยไม้สักที่องค์ใหญ่ที่สุด

ในประเทศไทย (จากผลการสำรวจของเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร) หลวงพ่อใหญ่เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์มีสาธุชนศรัทธาเข้าไปกราบไหว้บูชา ไปขอพรและต่อชะตาสะเดาะเคราะห์เป็นประจำ และสาธุชนที่เข้าไปกราบไหว้หลวงพ่อใหญ่แล้วมีความเชื่อว่า การขอพรและสะเดาะเคราะห์แล้วได้อยู่เย็นเป็นสุขหายจากอาการเจ็บป่วยได้จริง

เมื่ออดีตย้อนไปเมื่อ 40 ปีก่อนนั้น วัดหัวร้องจะจัดให้มีงานฉลองสมโภชเป็นประจำทุกปีหรือเรียกกันว่า “งานประจำปีวัดหัวร้อง” วัดจะจัดให้มีการละเล่นและให้สาธุชนชาวบ้านได้เข้าไปกราบไหว้สักการะขอพรหลวงพ่อใหญ่ และได้ร่วมกันทำบุญหารายได้เพื่อสมทบทุนบำรุงพัฒนาวัด อาราม ต่อแต่นั้นมาวัดจะจัดให้มีเฉพาะเทศกาลงานต่าง ๆ เช่น เทศกาลวันตรุษ วันสงกรานต์เทศกาลวันออกพรรษา จะมีเทศมหาชาติ เป็นต้น การจัดงานประจำปีจึงได้ว่างเว้นไป จะเป็นเพราะเหตุมีวัตถุสิ่งของภายในวัดได้ถูกโจรกรรมหายไป ทำให้เจ้าอาวาสงดเว้นการจัดงานประจำปี และจำเป็นต้องปิดวิหารเพื่อป้องกันการสูญหายสิ่งของดีมีค่าภายในวิหาร จะอนุญาตและเปิดวิหารให้สาธุชนคนใดที่มีความประสงค์จะเข้าไปกราบไหว้ขอพรต่อชะตาสะเดาะเคราะห์เป็นราย ๆ ไปเท่านั้น
 
รายละเอียดสถานที่ท่องเที่ยว

 
ผู้เข้าชม 2368 ท่าน         
 
 
 
 
 
รับเรื่องร้องเรียน
โทร : 081-953-0652